ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas)
และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการ9อบสนองแล้วนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม เป็น “การเรียนรู้”
นักจิตวิทยาได้แบ่งพฤติกรรมของมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ (Respondent Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้าโดยพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้น
ซึ่งสามารถจะสังเกตได้ กระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้ คือ
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory)
2.พฤติกรรมโอเปอแรนต์ (Operant Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา
โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม
ส่วนทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย Operant Behavior เรียกว่า ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant
Conditioning Theory) ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นว่าต้องการให้ Operant
Behavior คงอยู่ตลอดไป
แนวคิดของพาฟลอฟ(Ivan Pavlov) เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากการวางเงื่อนไข กล่าวคือ
การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือ
สถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวันการตอบสนองเช่นนั้นอาจไม่มี
เช่น กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและน้ำลายไหล
เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข พาฟลอฟ
เรียกว่า สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข และปฏิกิริยาน้ำลายไหล
เป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนองที่มีเงื่อนไขเงื่อนไข
ภาพที่ 2แผนผังแสดงการทดลองของพาฟลอฟ
แนวคิดของวัตสัน
(Watson) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
เป็นผู้นำกลุ่มจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม
นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี ไม่เลว(neutral-passive)
การกระทำต่างๆของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก
พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
เป็นการศึกษาพฤติกรรมที่สามารถเห็นได้หรือวัดได้
การทดลอง เริ่มโดยผู้วิจัยเคาะแผ่นเหล็ก
ให้ดังขึ้นให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข(UCS) ซึ่งจะก่อให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (UCR) คือ ความกลัว Watsonได้ใช้หนูขาวเป็นสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข (CS) มาล่อหนูน้อยอัลเบิร์ต (Albert) อายุ 11 เดือน ชอบหนูขาวไม่แสดงความกลัว
แต่ขณะที่หนูน้อยยื่นมือไปจับเสียงแผ่นเหล็กก็ดัง ขึ้น
ซึ่งทำให้หนูน้อยกลัว ทำคู่กันเช่นนี้เพียงเจ็ดครั้งในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์
ปรากฏว่าตอนหลังหนูน้อยเห็นแต่เพียงหนูขาวก็แสดงความกลัวทันที
รูปที่ 3 ภาพแสดงการทดลองของวัตสัน
สรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้ดังนี้
1)
พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้
โดยการควบคุมสิ่งเร้า ที่วาง
เงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติและการเรียนรู้จะคงทนถาวร
หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
2)
เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
หลักการเรียนรู้
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง กล่าวถึง การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยมีหลักพื้นฐานว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีและเหมาะสมที่สุด
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง กล่าวถึง การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยมีหลักพื้นฐานว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีและเหมาะสมที่สุด
1. กฎแห่งความพร้อม (Law
of readiness) ที่ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีถ้าผู้เรียนมี
ความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of exercise) ที่ว่าการฝึกหัดหรือกระท
าบ่อยๆ ด้วยความ เข้าใจจะท าให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร
3. กฎแห่งการใช้ (Law of use and disuse) ที่ว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยง
ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งความมั่นคงของการเรียนรู้จะเกิดขึ้น
หากได้มีการน าไปใช้ บ่อยๆ หากไม่มีการน าไปใช้อาจลืมได้
2. แนวคิดของสกินเนอร์ (Burrhus
Skinner) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R.
Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น
จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์
พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง
ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov
Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม " การเสริมแรง(Reinforcement ) หมายถึงสิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก
มีความคงทนถาวร เช่น
การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการ
ในการทดลอง Skinner ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1.ตัวเสริมแรกทางบวก (Positve
Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น
เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร เป็นต้น2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negasitive Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้า
ภาพที่ 5 แสดงการทดลองของสกินเนอร์
นางสาวณิชญาภรณ์ สีสัน
รหัส 553410080109
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น